
Online
18 ก.พ. 2566
|
วันมหาศิวะราตรี เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูที่เฉลิมฉลองพระศิวะ ที่พระองค์ได้ทรงสมรสกับพระปารวตี ถือเป็นเทศกาลสำคัญหนึ่งในศาสนาฮินดู มีความหมายแสดงถึงการสักการะบูชาความสว่างที่เอาชนะความมืดมิดและความไม่รู้ ปีนี้ตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ เดือนผลคุณ ตามปฏิทินฮินดู และตรงกับวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ในวันนี้ผู้นับถือศาสนาฮินดูจะจัดงานเฉลิมฉลองไปจนถึงรุ่งเช้า
ปรากฏว่าคืนนั้นนายพรานสั่นหนาวเพราะน้ำค้างลงและความหิวโหย จึงนอนดิ้นกระสับกระส่ายตลอดคืน จนน้ำค้างที่เกาะใบมะตูมร่วงลงสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นมะตูมนั้นตลอดทั้งคืน ทำให้พระศิวะเจ้าผู้ประทับบนเขาไกรลาศคิดไปเองว่ามีผู้ทำการบูชาเซ่นสรวงพระองค์อยู่ด้วยใบมะตูมและน้ำค้างบริสุทธิ์ตลอดคืน พระองค์จึงประทานพรให้นายพรานนั้นพ้นจากบาปที่เกิดจากการล่าสัตว์มาตลอดชีวิต
จากนั้นเป็นต้นมาพิธีกรรมบวงสรวงบูชาองค์พระศิวะมหาเทพ โดยมีการโปรยใบมะตูมพวงมาลัยดอกไม้และมีการอดหลับอดนอน อดข้าวอดน้ำ เพื่อสังเวยองค์พระศิวะ จึงได้มีการกำเนิดขึ้นมาเพราะเหตุนี้
อย่างไรก็ตาม ทั้งอินเดียเหนือและอินเดียใต้ ต่างเฉลิมฉลองมหาศิวะราตรีในวันเดียวกัน ซึ่งปี 2566 นี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ ว่ากันว่า ในค่ำคืนมหาศิวะราตรีนี้ พระมหาศิวะเทพจะลงมายังโลก เดินปะปนอยู่ในหมู่มนุษย์ เพื่อให้พรแก่สาวก ผู้ภักดีของพระองค์
การปฏิบัติบูชาต่อพระมหาศิวะเทพในค่ำคืนอันพิเศษนี้ ผู้ที่เคร่งครัด จะทำการถือศีลอดอาหาร และน้ำดื่ม สวดนามอันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระมหาศิวะเทพ
"โอม นมัส ศิวายะ"
ตลอดทัั้งวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ขึ้นของอีกวัน บางแห่ง จะสวดภาวนา พร้อมทั้งถวายใบมะตูม แก่พระองค์
หรือแม้แต่ จะสรงสนานศิวะลึงค์ด้วยน้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอพรต่อพระองค์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่น่าสนใจ
เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์
ลงในหน้าจอหลักของคุณ