วันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2566
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) สรุปผลการตรวจวัด ฝุ่น PM 2.5 ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00 – 07.00 น. ตรวจวัดได้ 13-33 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 21.0 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 13-33 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.)
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อ ฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 13 – 19 กุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าอัตราการระบายอากาศดี อากาศค่อนข้างเปิด มีฝนบางพื้นที่ ประกอบกับช่วงนี้มีความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทย มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองได้บางพื้นที่ มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มทรงตัว (จากวันก่อนหน้า) และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
ดังนั้นคาดการณ์ ช่วงวันที่ 14 – 15 กุมภาพันธ์ 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลมีแนวโน้มคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศที่ดี เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น และมีลมใต้ที่มีกำลังค่อนข้างแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ แต่หลังวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป อาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่
ช่วงวันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ 2566 อากาศแปรปรวน จะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น เนื่องจากจะมีมวลอากาศเย็นระลอกใหม่ แผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคอีสาน ทิศทางลมยังแปรปรวนในช่วงแรก ก่อนที่จะกลายเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมหนาว) มีกำลังแรงขึ้น ซึ่งในช่วงวันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2566 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส ในช่วงนี้จึงควรเฝ้าระวังการสะสมตัวของฝุ่นละออง PM2.5 เนื่องจากมีแนวโน้มที่ความกดอากาศจะสูงขึ้น
2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 01.32 น. ถ.สุวินทวงศ์ เขตหนองจอก
3. แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งนี้กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแสผ่านทาง Traffy Fondue
Related Stories
ตุลาคม 8, 2024