เนื่องในวันที่ “วันครูแห่งชาติ 2567” นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำขวัญวันครู ครั้งที่ 68 ไว้ว่า
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
นายกฯ เศรษฐา ได้อธิบายไว้ว่า “ครู” คือผู้นำความรู้ทั้งจากทั้งในตำรา และจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาถ่ายทอดให้กับศิษย์
งานของครูในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จึงไม่ใช่แค่การสอนหนังสือให้ความรู้ตามตำรา
แต่ครูยังต้องใส่ใจสอนวิธีคิด และวิธีจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เพื่อให้ศิษย์สามารถจัดระเบียบความคิดได้ รวมถึงเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างมีคุณภาพ
คำว่าครูสำหรับตนเอง คือ ผู้สร้าง และผู้ให้ “สร้าง” คือ สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับสังคม “ให้” คือ ให้หลักคิดแก่ผู้คนเพื่อนำไปต่อยอดได้
ดังคำขวัญวันครู แด่ครูทุกท่านที่เสียสละ “ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์”
คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต โดย คำว่า “คุรุ” และภาษาบาลี คำว่า “ครุ” , “คุรุ”
“ครู” หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติครูในพระราชกิจจานุเบกษา โดยจัดตั้ง “คุรุสภา” ในกระทรวงศึกษาธิการ รวบรวมครูในสังกัดมาเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยสมาชิกจะมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อสถาบันวิชาชีพครู พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาในการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ได้กล่าวปราศรัย ต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศส่วนหนึ่งว่า
เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย
จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” และมีการประกาศจัดวันครูแห่งชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500
การจัดงานวันครู ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์สำคัญที่ได้กระทำมาแต่ต้น คือ “หนังสือประวัติวันครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ”
สัญลักษณ์ของวันครูนั้นคือ “ดอกกล้วยไม้” ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นดอกไม้ประจำวันครู โดยคณะกรรมการจัดงานวันครู พ.ศ.2539 เนื่องจากเล็งเห็นว่า ธรรมชาติของดอกกล้วยไม้มีลักษณะคล้ายคลึงกับงานจัดการศึกษาและสภาพชีวิตครู ดังคำกลอนของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลแห่งวงการศึกษาไทย ที่ว่า
ด้วยกล้วยไม้แต่ละช่อจะผลิดอก และต้องใช้เวลานานและต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่น้อย เช่นเดียวกับครูแต่ละคนกว่าจะสั่งสอนเคี่ยวเข็ญ ศิษย์คนแล้วคนเล่าให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้ ก็ต้องใช้เวลาอบรมสั่งสอนไม่น้อย ด้วยเช่นกัน
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2567 : นายเศรษฐา ทวีสิน คือ ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2566 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2565 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2564 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2563 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ครูไทย รักศิษย์ คิดพัฒนา
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2562 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2561 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2560 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2559 : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ เจ้าของคำขวัญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2558 : เป็นของ เด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล จ.อ่างทอง (คุรุสภาเปิดโอกาสให้ประชาชน ครู นิสิต นักศึกษา นักเรียน ส่งคำขวัญวันครู เข้าประกวด)
คือ เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2557 : นายธีธัช บรรณะทอง คือ เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2556 : นายสะอาด สีหภาค คือ แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฏร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2555 : น.ส.ขนิษฐา อุตรโส คือ บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2554 : นางกนกอร ภูนาสูง คือ เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2553 : นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ คือ น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2552 : นางนฤมล จันทะรัตน์ คือ ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2551 : นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม คือ ครูของแผ่นดิน เลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพล ชนบูชา
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2550 : น.ส.ศันสนีย์ แสนโรจน์ คือ สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2549 : นางพรรณา คงสง คือ ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2548 : นายประจักษ์ หัวใจเพชร คือ ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2547 : น.ส.พรทิพย์ ศุภกา คือ ครู คือ พลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2546 : นางสมปอง สายจันทร์ คือ ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2545 : นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี คือ สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2544 : น.ส.สุทิสา ธนบดีไพบูลย์ คือ พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2543 : นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และ นายประจักษ์ เสตเตมิ คือ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี?สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2542 : นายปัญจะ เกสรทอง และ นางเซียมเกียว แซ่เล้า คือ ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2541 : นายชุมพล ศิลปอาชา คือ ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2540 : นายสุขวิช รังสิตพล คือ ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและน้ำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2539 : นายสุขวิช รังสิตพล คือ ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2538 : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร คือ อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2537 : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร คือ ครู คือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2536 : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร คือ ครู คือ นักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2535 : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ คือ ครู คือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2534 : พล.อ.มานะ รัตนโกเศศ คือ ครู คือ ผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2533 : พล.อ.มานะ รัตนโกเศศ คือ ครู คือ ผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2532 : พล.อ.มานะ รัตนโกเศศ คือ ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2531 : นายมารุต บุญนาค คือ ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2530 : นายมารุต บุญนาค คือ ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2529 : นายชวน หลีกภัย คือ ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2528 : นายชวน หลีกภัย คือ การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดี มีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจ เมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครูทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิดผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2527 : นายชวน หลีกภัย คือ ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2526 : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ คือ อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2525 : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์ คือ ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2524 : ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต คือ ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผน อันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาการความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย
คำขวัญวันครู พ.ศ. 2523 : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ คือ เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู
Related Stories
กันยายน 14, 2024