Online
29 มิ.ย. 2566
|
ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จากเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" เมื่อช่วงเวลา 24.17 น.กลางคืนที่ผ่านมา พบว่า จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ที่ละติจูด 16.558 องศาเหนือ ลองจิจูด 100.368 องศาตะวันออก ขนาด 4.5 ความลึก 5 กิโลเมตร ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร จังหวัดกำแพงเพชร
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าการเกิด "แผ่นดินไหว" ในครั้งนี้ เป็นการเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน (Hidden Fault) ซึ่งรอยเลื่อนนี้อยู่นอกเหนือจาก 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง ที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อนในรอบ 100 ปี เป็น"แผ่นดินไหว" ระดับตื้นมาก และมีจุดศูนญ์กลางอยู่กลางป่า จากการตรวจสอบและเฝ้าระวังพบว่า รอยเลื่อนดังกล่าวเกิดขึ้นในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้คู่ขนานไปในแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ ที่อยู่ทางตะวันออกของศูนย์กลางแผ่นดินไหวโดยวัดค่าอัตราเร่งสูงสุด(PGA) 0.3%g แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นนั้นจะทำให้ประชาชนรับรู้ถึงความสั่นไหวได้ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารเพราะจุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากตัวเมือง
ดร.ชมภารี อธิบายต่อว่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้รอยเลื่อนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดินที่ไม่เคยมีพลังงานกลับมาเคลื่อนตัวในครั้งนี้นั้น เบื้องต้นคาดรอยดังกล่าวเป็นรอบแขนงของรอยเลื่อนที่มีพลังงานอยู่แล้ว และเกิดการสะสมพลังงานในตัวเองขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสั่นไหว ส่วนจะมีความเกี่ยวข้องกับรอยเลื่อนพะเยา ที่มีการเคลื่อนตัวไปเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2566 ที่ผ่านมาหรือไม่นั้น ทางกรมทรัพยากรธรณีอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบรายละเอียด เพราะเป็นรอยเลื่อนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชี 16 รอบเลื่อนที่มีพลังงานอยู่
อย่างไรก็ตามกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอาฟเตอร์ช็อก โดยจะมีการเฝ้าระวัง 24 ชม. แต่หากพบว่าเกิดการสั่นไหวอีกรอบที่มีขนาดรุนแรงกว่าครั้งแรก จะไม่ได้นับเป็นอาฟเตอร์ช็อก แต่จะนับว่าเป็นการเกิด "แผ่นดินไหว" ครั้งใหม่ แต่ขณะนี้จากการเฝ้าระวังมั่นใจได้ว่าไม่เกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นแน่นอน
ทั้งนี้ภายหลังจากที่เกิดเหตุ "แผ่นดินไหว" ทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งเตือนประชาชนอย่างรวดเร็วภายใน 17 นาที พร้อมกับมีการประสานงานข้อมูลกับกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพื่อให้รับทราบข้อมูลพร้อมกันสำหรับการเตรียมความพร้อม แต่จากแรงสั่นสะเทือน 4.5 ริกเตอร์ไม่ได้กระทบต่อความแข็งแรงของเขื่อนแน่นอน ทั้งนี้กรมอุตุฯ ได้มีการพัฒนาระบบเตือนภัย "แผ่นดินไหว" และภัยพิบัติอื่นๆ ผ่านทางระบบ line alert ซึ่งประชาชนสามารถติดตามข้อมูลผ่านการแจ้งเตือนภัยได้แบบทันเหตุการณ์
หลายคนที่กำลังตั้งข้อมสงสัยว่าทำไมประเทศไทยไม่สามารถคาดการณ์การเกิด "แผ่นดินไหว" ได้ล่วงหน้า เหมือนกับการพยากรณ์พายุ เพื่อเป็นการแจ้ให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมก่อนที่ผ่านมาในต่างประเทศเคยมีการพยายามที่ดำเนินการคำนวณ คาดการณ์การเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าด้วยระบบ AI ไว้เช่นกันแต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากหนัก โดยกรมอุตุฯเองก็มมีความพยายามที่จะดำเนินการพยากรณ์ และแจ้งเตือนการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่น่าสนใจ
เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์
ลงในหน้าจอหลักของคุณ