
Online
11 ก.ค. 2566
|
เหตุการณ์ สะพานถล่มลาดกระบัง ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ที่เกิดขึ้นในช่วงค่ำวานนี้ (10 ก.ค. 2566) สร้างความแตกตื่นในคนที่สัญจรไปมา และประชาชนในย่านลาดกระบังอย่างมาก เพราะ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" มีการเริ่มก่อสร้างไปแล้วเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา และมีกำหนดจะเปิดให้ประชาชนสัญจรได้ในช่วงเดือน ส.ค. 2566 ซึ่งเหลือเวลาการก่อสร้างอีก 1 เดือนเท่านั้น
อีกทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแยก หรือทางยกระดับในกรุงเทพมหานคร ตลอดระยะเวลาหลายปีไม่ได้มีข่าวการถล่มพังจนคร่าชีวิตคนงาน และทำให้มีผู้บาดเจ็บหลานคนเช่นนี้มาก่อน การก่อสร้าง "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" แล้วถล่มลงมาในครั้งนี้จึงถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลแก่ผู้ที่จะต้องขับผ่านเส้นทางดังกล่าว หากมีการเปิดใช้งานแล้วเป็นอย่าง สำหรับ โครงการก่อสร้างทางบกระดับลาดกระบังอ่อนนุช มีที่ไปที่มาดังนี้
โครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร มูลค่าโครงการ 1,938.3 ล้านบาท แบ่งเป็นของสำนักงานกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน กทม.) 1,664.5 ล้านบาท และงานของการไฟฟ้านครหลวง 273.75 ล้านบาท เจ้าของโครงการ คือ สำนักการโยธา กทม.ผู้สำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธา กทม. เป็นผู้ออกแบบ
ตามสัญญาจ้างงานโครงการของ สำนักงาน กทม. ระบุให้เริ่มก่อสร้างวันที่ 23 ก.พ. 2564 ไปจนถึงวันที่ 11 ส.ค. 2566 ระยะเวลา 900 วัน แต่ล่าสุดคาดว่าจะเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 ซึ่งหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา จะต้องจ่ายค่าปรับแก่ผู้ว่าจ้างราว 4.1 ล้านบาทต่อวัน
ลักษณะการก่อสร้างเป็นทางยกระดับคอนกรีตเสริมเหล็กความยาว 2,200 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ สร้างตามแนวเกาะกลางถนนลาดกระบังระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เริ่มจากสะพานข้ามคลองหนองคล้าใกล้ซอยลาดกระบัง 9/7 สิ้นสุดที่หน้าสำนักงาน กปน. สาขาสุวรรณภูมิ รวมถึงสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบจราจรสงเคราะห์
ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเคยมีการอภิปรายและสอบถามความคืบหน้าในการก่อสร้าง ทางยกระดับลาดกระบังอ่อนนุข โดยนายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ว่ากทม.จะเร่งรัดอย่างไรให้แล้วเสร็จไวขึ้น เพราะทางยกระดับมีระยะทางประมาณ 3 กม. เท่านั้น
ในที่ประชุมสภานายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ระบุว่า ทางกทม. ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับจากแบบเดิมที่เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment ที่หล่อขั้นรูปมาจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วขึ้น
หลังจากเกิดเหตุ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ถล่มจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ นายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ได้เดินทางลงพื้นที่ พร้อมกับสั่งการให้ตรวจสอบโครงสร้าง ทางยกระดับที่ถล่มลงมา เพราะเกรงว่าจะเกิดการถล่มซ้ำสอง โดยการการรื้อถอนจะต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม โดยจะมีวิศวกรเข้ามาดูแลเนื่องจากสภาพโครงสร้างที่ทรุดลงมายังไม่มีความเสถียร อาจเกิดการพังทลายซ้ำ 2 ได้ ทางวิศวกร รวมถึงผู้รับเหมาที่เข้าใจสถานการณ์ และวสท. เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย โดยการประเมินพื้นที่จะเริ่มตั้งแต่คืนนี้ เนื่องจากการประเมินพื้นที่จะรวมกับขั้นตอนของการกู้ภัยเข้าไปด้วย ไม่สามารถกู้ภัยโดยไม่มีการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญได้นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งศูนย์บัญชาการ
เบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บ 8 ราย แบ่งเป็นสาหัส 4 ราย ไม่สาหัส 4 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เป็นวิศวะกร ซึ่งผู้บาดเจ็บ 8 รายยังไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงหากมีญาติตัวเองสูญหาย ขอให้โทรมาแจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เบอร์ 199 เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นถนนสาธารณะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวที่น่าสนใจ
เพิ่ม คมชัดลึก ออนไลน์
ลงในหน้าจอหลักของคุณ