โดย PPTV Online
เผยแพร่
แนะวิธีลาอย่างไรให้คุ้ม ได้พักผ่อนยาวต่อเนื่องถึง 6 วัน รับวันหยุดปลายเดือนกรกฎาคม 2566
เมื่อตรวจสอบจากปฏิทิน หรือตามประกาศของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพบว่า เดือนกรกฎาคมมีวันหยุดราชการ 1 วันคือ วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และมีวันหยุดราชการเพิ่มเติมกรณีพิเศษคือ วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566
อย่างไรก็ตามในวันดังกล่าวอยู่ในช่วงวันหยุดยาวพอดี ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี จึงได้รวบรวมวิธีการลามาฝากกัน เพราะเราอาจสามารถพักผ่อนกันได้ยาวๆ ต่อเนื่องกันถึง 6 วัน!
- หยุดทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เอกชนแนะลาเพิ่มอีก 1 วัน
หากใครได้หยุดทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ คือวันเสาร์ อาทิตย์อยู่แล้ว ในกรณีนี้คุณจะได้หยุดยาวต่อเนื่องไปแล้วเบื้องต้นถึง 3 วัน คือ ในวันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม, วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม และ วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2566
อย่างไรก็ตามในเดือนถัดไปนั้น จะมีวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่ออีก 2 วัน คือ ในวันอังคารที่ 1 สิงหาคม และ วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566
ดังนั้นใน วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 สำหรับข้าราชการคุณอาจไม่ต้องลาเพิ่ม แต่ในบริษัทเอกชน เนื่องจากกฎหมายแรงงานกำหนดให้องค์กรจัดวันลาให้กับพนักงงานในสังกัดได้อย่างน้อย 13 วัน นั่นหมายความว่าไม่จำเป็นจะต้องหยุดตามข้าราชการทั้งหมด หากองค์กรของคุณไม่ได้กำหนดให้เป็นวันหยุด เราสามารถลาหยุดได้ นั่นหมายความว่า เราจะสามารถพักผ่อนกันได้ยาวๆ ต่อเนื่องถึง 6 วัน
- ไม่หยุดในวันเสาร์-อาทิตย์ แนะลาเพิ่ม 1-3 วัน
กรณีที่องค์กรใดไม่มีนโยบายให้หยุดในวันเสาร์ อาทิตย์ หรือหยุดได้แค่เพียง 1 วันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ แนะนำว่าให้ลาเพิ่ม 1-3 วัน ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม, วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม ไปจนถึง วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม เราจะสามารถพักผ่อนกันได้ยาวๆ ต่อเนื่องถึง 6 วันเช่นเดียวกัน
แม้ในวันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคมนี้ จะมีมติจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติม กรณีพิเศษ ในหน่วยงานเอกชน หากนายจ้างไม่ได้กำหนดให้เป็นวันหยุดด้วย เราสามารถสามารถลาหยุดต่อกันได้ ถ้าหากคุณยังมีวันลาเหลืออยู่ การลาเพิ่มอีก 1-3 วันแลกวันหยุดพักผ่อนที่คุณจะได้รับทั้งหมดถึง 6 วัน ถือว่าคุ้มค่าไม่น้อย
ทั้งหมดนี้ คือการวางแผนวันลาคร่าวๆ ในเดือนกรกฎาคม 2566 ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ ปรับใช้ตามความสะดวกของแต่ละคนได้เลย
PPTVHD36.COM ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
© สงวนลิขสิทธิ์ 2564 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด
เกี่ยวกับ PPTVHD36 TERM CONDITION PRIVACY POLICY PRIVACY POLICY PARTNER MOBILE APP