
วันนี้ (5 เม.ย.2566) ปรากฎการณ์แฮชแท็ก กรมอุตุนิยมวิทยา ที่ติดอันดับคำค้นยอดนิยมอันดับ 1 บนทวิตเตอร์ หลังจากมีการเผยแพร่กราฟฟิกที่ระบุว่าพรุ่งนี้ (6 เม.ย.) บางนา 50.2 องศาเซลเซียสนั้น สร้างความแตกตื่น เนื่องจากคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอุณหภูมิความร้อนที่จะเกิดขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุดในวันนี้ (5 เม.ย.)
ส่วนวันพรุ่งนี้ (6 เม.ย.) ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด
นอกจากนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ยังแจ้งเตือนค่าดัชนีความร้อนระดับเฝ้าระวังเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน ซึ่งกรมอนามัย กำหนดค่าดังนี้
เฝ้าระวัง อุณหภูมิ 27-32 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีระษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนหรืออกกำลังกาย หรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน
เตือนภัย อุณหภูมิ 32-41 องศาเซลเซียส เกิดอาการตะคริวจากความร้อน และอาจเกิดอาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
อันตราย อุณหภูมิ 41-54 องศาเซลเซียส มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด (ฮีทสโตรก) ได้ หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
อันตรายมาก อุณหภูมิมากกว่า 54 องศาเซลเซียส เกิดภาวะลมแดด (ฮีทสโตรก)
อ่านข่าวเพิ่ม ประเมิน “ไฟป่าเขาแหลม” ห่วงลมพัดฝุ่นขึ้นปากช่อง-ปราจีน-บุรีรัมย์
นายสมควร ต้นจาน ผอ.กองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ ระบุว่า ตัวเลขที่กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่เป็นกราฟฟิกที่ระบุว่าพรุ่งนี้ (6 เม.ย.) บางนา 50.2 องศาเซลเซียสนั้น ไม่ใช่ค่าตรวจวัดอุณภูมิสูงสุด แต่เป็นการพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด เพื่อชี้ว่าช่วงไหนเป็นอันตรายเตือนประชาชน เหมือนกับค่ามลพิษจากฝุ่น PM2.5
นายสมควร กล่าวว่า จากสถิติอากาศร้อนสูงสุดของฤดูร้อนปี 2566 ตอนนี้ยังมีอุณหภูมิสูงสุดเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา จ.เพชรบูรณ์ 40.7 องศาเซลเซียส ขณะที่สถิติวันที่ร้อนสุดในรอบ 60 ปียังคงเป็นตัวเลข 44.6 องศาเซลเซียส อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 28 เม.ย.2559
อ่านข่าวเพิ่ม ร้อนมาก! ชี้อุณหภูมิพุ่ง 40 องศาฯ ลากยาวถึงพ.ค.นี้
ด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การเจ็บป่วยฮีทสโตรก เป็นภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากความร้อนอย่างหนึ่ง ที่อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียกลไกการปรับระดับอุณหภูมิในร่างกายไป ส่งผลให้ร่างกายมีอุณภูมิสูงมากเกินไปจนทำให้ระบบอวัยวะภายในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ เสียหายและไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ เกิดความดันตก หัวใจวาย ปวดบวมน้ำ ไตวาย และเสียชีวิตได้ในที่สุดหากไม่รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ประเทศไทย มีรายงานมีผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน ระหว่างเดือนมี.ค.- พ.ค.ของปี 2558-2562 โดยเฉลี่ยในแต่ละปีถึง 43 คน นอกจากนี้รายงานจากต่างประเทศ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน เนื่องด้วยสภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จึงส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตือนไทยตอนบน รับมือ “พายุฤดูร้อน” 6-9 เม.ย. ฝนถล่ม-ลมแรง-ลูกเห็บตก
รู้จัก “ฮีทสโตรก” ภัยความร้อนเกิน 40 องศาฯ ตายเฉลี่ย 33 คนต่อปี